ผู้เขียน หัวข้อ: อาการปวดหลัง แบบไหน อันตราย?  (อ่าน 6168 ครั้ง)

Eaincva

  • Newbie
  • *
  • Thank You
  • -Given: 0
  • -Receive: 0
  • กระทู้: 2
    • ดูรายละเอียด
อาการปวดหลัง แบบไหน อันตราย?
« เมื่อ: มีนาคม 15, 2019, 11:54:27 AM »
อาการปวดหลังที่เกิดจากการอักเสบของกล้ามเนื้อ โดยอาจเกิดจากการใช้กล้ามเนื้อบริเวณนั้นมากเกินไป หรือเกิดอุบติเหตุเล็กๆ น้อยๆ อาจจะหายได้เองหากงดการใช้กล้ามเนื้อบริเวณนั้นสักพัก หรือมียาทาภายนอกที่ช่วยลดอาการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อ แต่หากมีอาการปวดหลังที่พ่วงด้วยอาการอื่นๆ ดังต่อไปนี้ ควรรีบพบแพทย์เพื่อทำการตรวจเช็คอย่างละเอียด
    มีอาการปวดที่เดิมๆ อย่างต่อเนื่องมากกว่า 6 สัปดาห์
    ปวดมากจนรู้สึกได้ถึงความผิดปกติ อาการไม่ทุเลาลง
    ปวดแบบเจ็บแปลบจิ๊ดๆ เหมือนเข็มจิ้ม
    ปวดร้าวยาวลงไปจนถึงต้นขา จนอาจมีอาการขาอ่อนแรง ปวดปลีน่อง จนทำให้เดินลำบาก หรือเดินได้นิดหน่อยก็ปวด
    ปวดบริเวณก้นกบ ที่ไม่ได้มีสาเหตุมาจากอุบัติเหตุ
    มีอาการปวดปัสสาวะแสบขัด มีสีขุ่น หรือมีไข้ ร่วมกับอาการปวดหลังบริเวณเอว (อาจเป็นอาการเริ่มต้นของอาการนิ่วในไต หรือไตอักเสบ)
    ปวดจนขา หรือเท้ามีอาการชา
    เคลื่อนไหวอย่างอิสระไม่ได้ เช่น ก้มตัว ยืดตัวตรง
    กลั้นปัสสาวะ หรืออุจจาระเริ่มไม่ค่อยอยู่
หากไม่สามารถหาสาเหตุของอาการปวดหลังได้ และยังมีอาการปวดหลังอย่างต่อเนื่องมากกว่า 6 สัปดาห์ ควรปรึกษาแพทย์เพื่อทำการตรวจโดยละเอียด เพื่อสาเหตุที่แท้จริง และแก้ไขปัญหาตั้งแต่ต้นเหตุจะดีที่สุดค่ะ เพราะถึงทานยาคลายกล้ามเนื้อ ทายาแก้ปวดภายนอกหมดไปมากเท่าไร อาการอาจไม่ดีขึ้นหากเราไม่ทราบปัญหาที่เกิดขึ้นจริง

แทงบอลออนไลน์

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ธันวาคม 21, 2021, 04:42:46 PM โดย Eaincva »

Eaincva

  • Newbie
  • *
  • Thank You
  • -Given: 0
  • -Receive: 0
  • กระทู้: 2
    • ดูรายละเอียด
สาเหตุของการนอนไม่หลับ
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: มีนาคม 15, 2019, 11:54:39 AM »
สาเหตุของการนอนไม่หลับที่เกี่ยวข้องกับเรื่องของจิตใจ (Psychologic Causes of Insomnia) จากการเก็บข้อมูลพบว่าผู้ป่วยที่มีอาการนอนไม่หลับส่วนใหญ่มักเกิดจากอาการที่ส่งผลกระทบต่อเรื่องของจิตใจ อาทิ โรคเครียด โรคซึมเศร้า โดยผู้ป่วยกลุ่มนี้ถึงร้อยละ 70 จะมีอาการนอนไม่กลับเป็นอาการหลักๆ

      2. สาเหตุของการนอนไม่หลับที่มีปัจจัยที่เข้าไปกระตุ้นให้เกิดการนอนไม่หลับ (Precipitating Factors of Transient Insomnia) ซึ่งมักจะเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นชั่วคราว อาทิ

        Adjustment Sleep Disorder เป็นภาวะนอนไม่หลับที่เกิดจากสิ่งกระตุ้นที่เพิ่งเกิด เช่น ผลจากความเครียด , การเจ็บป่วย , การผ่าตัด , การสูญเสียของรัก , เรื่องงาน ซึ่งเมื่อใดที่สิ่งกระตุ้นเหล่านี้หาย อาการนอนไม่หลับจะกลับสู่สภาวะปกติ
        Jet Lag มักเกิดขึ้นกับผู้ป่วยที่เดินทางบินข้ามเขตเวลา ทำให้ร่างกายต้องเปลี่ยนเวลานอนจนปรับตัวไม่ทัน เป็นเหตุให้นอนหลับยาก
        Working Conditions เป็นผลมาจากการที่ต้องเข้างานเป็นกะ ทำให้นาฬิกาชีวิตเสียไป จนทำให้ต้องนอนไม่เป็นเวลา
        Medications อาการนอนไม่หลับที่เกิดจากการใช้ยา หรือเครื่องดื่ม เช่น ยาลดน้ำมูก , กาแฟ

       3. สาเหตุของการนอนไม่หลับที่เกิดจากโรค (Medical and Physical Conditions) ซึ่งบางโรคก็เป็นเหตุที่ทำให้เกิดอาการนอนไม่หลับ อาทิ

        โรคบางโรคเมื่อขณะเกิดจะทำให้ผู้ป่วยมีอาการนอนไม่หลับ เช่น โรคหอบหืด , โรคหัวใจวาย , โรคภูมิแพ้ , โรคสมองเสื่อม , โรคพาร์คินสัน , โรคคอพอกเป็นพิษ
        ผลพวงจากการเปลี่ยนแปลงทางฮอร์โมน Progesteron เมื่อฮอร์โมนตัวนี้สูงขึ้นก็จะทำให้ง่วงนอนในช่วงไข่ตก  แต่ในช่วงที่ประจำเดือนใกล้มาจะมีฮอร์โมนน้อย อาจทำให้มีอาการนอนไม่หลับ อีกทั้งเมื่อคุณสาวๆ กำลังตั้งครรภ์ในระยะแรกๆ และระยะใกล้คลอดก็จะมีอาการนอนไม่หลับเช่นกัน เนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน รวมถึงช่วงแรกของผู้หญิงเมื่อเข้าสู่วัยทอง ก็จะมีอาการนอนไม่หลับเช่นกัน
        การเปลี่ยนเวลานอน Delayed Sleep-Phase Syndrome ก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดอาการนอนไม่หลับ อาทิ เมื่อถึงเวลานอนแต่ไม่ได้นอน ทำให้ร่างกายไม่สามารถปรับตัวได้ทัน

        4. สาเหตุของการนอนไม่หลับที่เป็นปัจจัยเสริม (Perpetuating Factors) มีหลายภาวะที่เสริมส่งให้การนอนไม่หลับเกิดได้ง่ายมากขึ้น

        Psychophysiological Insomnia เกิดจากการนอนก่อนเวลาทำให้นอนไม่หลับ เรียกว่า Advanced sleep phase Syndrome ทำให้คนๆ นั้นพยายามที่จะต้องนอนให้หลับ กระสับกระส่าย พลิกตัวไปมา ไม่ผ่อนคลายจนเกิดการสะสมแล้วกลายเป็นความเครียด โดยผู้ป่วยในกลุ่มนี้จะมีลักษณะชีพจรเต้นเร็ว ตื่นง่าย อุณหภูมิร่างกายจะสูงกว่าปกติ
        นอนไม่หลับจากสารบางชนิด อาทิ สุรา กาแฟ ซึ่งการดื่มกาแฟ หรือสุราในช่วงกลางวันถึงกลางคืนอาจจะทำให้นอนไม่หลับ ถ้าไม่นับรวมว่าการดื่มสุราแค่เพียงจิบ หรือเพียงเล็กน้อยก่อนนอนจะช่วยลดความเครียด ทำให้นอนได้หลับดีขึ้นได้ แต่ถ้าหากดื่มมากเกินไปก็จะทำให้หลับได้ไม่นาน ตื่นง่าย เมื่อถึงช่วงอดสุราก็จะมีปัญหาหลับยาก รวมถึงผู้ที่สูบบุหรี่จะนอนหลับประมาณ 3 - 4 ชั่วโมงแล้วตื่น อันเนื่องมาจากมีระดับ Nicotin ที่ลดลง
        ระดับ Melatonin ลดลง ส่วนใหญ่ Melatonin จะมีมากในเด็กและลดลงในวัยผู้ใหญ่หลังช่วงอายุ 60 ปี มีส่วนให้เกิดอาการนอนหลับยาก
        ปัจจัยจากแสงก็มีส่วนให้เกิดอาการนอนหลับยาก จากความรู้เบื้องต้นว่าแสงจะกระตุ้นให้ร่างกายเราตื่น ถึงแม้ว่าจะหรี่แสงลงแล้วก็ตาม
        การนอนไม่หลับในวัยเด็ก พ่อแม่ให้เวลานอนลูกไม่สม่ำเสมอจะทำให้เด็กนอนไม่หลับในตอนโต
        การออกกำลังกายในช่วงก่อนนอนและการทำงานที่ทำให้เกิดความเครียดในช่วงก่อนนอน
        การนอนและการตื่นที่ไม่เป็นเวลา
        สิ่งแวดล้อมภายในห้องนอนไม่เหมาะสม เช่น มีอุณหภูมิที่ร้อน หรือหนาวจนเกินไป เสียงดังเกินไป รวมถึงลักษณะการนอนของคนใกล้ชิด อย่าง นอนดิ้น หรือนอนกรน เป็นต้น

 

11 พ.ย. 2024
02:21
Today : 10260
Total : 58125133
roomautoparts@hotmail.com | me
2014 Room Autoparts All Rights Reserved