ตย. เคสกรณีศึกษา ย้ำ! เป็นเรื่องจริงที่เกิดขึ้นกับตัวผมครับ ปัจจุบันมีสินเชื่อที่เป็น "บัตรเครดิต" และ "บัตรกดเงินสด" กับทางแบงค์ อยู่ประมาณ 4-5 ที่ ถือมาได้ประมาณ 13 ปี และตั้งแต่เปิดใช้งานมามีการใช้จ่ายอย่างต่อเนื่อง สม่ำเสมอ ผ่อนชำระสินค้าบ้าง ใช้ในธุรกิจบ้าง ไม่เคยผิดนัดชำระแม้แต่ครั้งเดียว(ชำระก่อนถึงดิว+เต็มจำนวนด้วยครับ) ผมจะระมัดระวัง และรักษาเครดิตค่อนข้างดีมาก ในเครดิตบูโรทุกแบงค์จะขึ้นสถานะ
"10=ปกติ" ทั้งหมด รวมถึงได้รับการปรับวงเงินขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่! ระยะหลังๆ ผมเองก็ไม่สามารถขอสินเชื่อเพิ่มเติม กู้ซื้อคอนโด หรือบ้านผ่านได้เลย ทั้งที่มีศักยภาพในการผ่อนชำระได้อย่างสบายๆ
***ถึงแม้ผมจะกู้ขอสินเชื่อจากแบงค์ไม่ได้แต่ผมก็ยังมีวินัยทางการเงิน รักษาเครดิตด้วยดีมาโดยตลอดครับ***ย้อนกลับไปเมื่อช่วงปี 53 จุดเริ่มต้น คือ ผมได้ทำเรื่องกู้สินเชื่อเงินสดส่วนบุคคลกับแบงค์ต่างชาติแห่งหนึ่ง ที่ผมได้ถือบัตรเครดิตไว้ ซึ่งพนักงานขายได้โทรมานำเสนอเป็นอีกวงเงินหนึ่ง และแจ้งวงเงินที่ได้รับเรียบร้อย รออนุมัติโอนเข้าบัญชี ดูเหมือนจะไม่มีอะไร จนมี sms เข้ามา + พนักงานขายโทรกลับมาแจ้งว่าฝ่ายอนุมัติสินเชื่อไม่สามารถอนุมัติให้ได้ครับ จึงได้สอบถามกลับไปว่าสาเหตุเกิดจากอะไร พนักงานขายก็ไม่ค่อยอยากจะแจ้งผมมาสักเท่าไร ต้องขอร้องจนน้องเขากระซิบแจ้งกลับมาว่า
"แบงค์สีเหลืองติด ฟอร์ด พี่ในระบบซึ่งก็คือคือการปลอมแปลงเอกสาร พี่ต้องไปเคลียร์กับแบงค์ เพื่อเอาตัวนี้ออกก่อนครับ" ***ต้องขอขอบคุณน้องพนักงานขายคนนี้มากๆ ครับ ที่ทำให้ผมรู้ว่าต้นเหตุของปัญหามาจากไหน***จึงได้โทรไปเช็คที่แบงค์สีเหลืองโดยตรงเพื่อตรวจสอบว่าจริงหรือไม่? พนักงานก็แจ้งกลับมาว่า
"ไม่มี ปกติทุกอย่างค่ะ" จากนั้นได้ไปทำเรื่องที่แบงค์สีฟ้าเพื่อขอรายงานสถานะในเครดิตบูโรอย่างละเอียดก็ไม่พบสิ่งผิดปกติแต่อย่างใด จำได้ว่าก่อนหน้านี้ได้ไปสมัคร "บัตรเครดิต" กับเจ้าหน้าที่แบงค์สีเหลืองในห้างแถวศรีนครินทร์เพื่อใช้เป็นส่วนลดซื้อของใช้เข้าบ้านโดยใช้หนังสือรับรองเงินเดือนบริษัทที่ทำงานประจำแต่
"ไม่ผ่าน" หลังจากนั้นไม่กี่เดือนก็ได้ไปยื่นสมัคร "บัตรเครดิต" แบงค์เดิมเองซ้ำอีกครั้งในอีกห้างหนึ่งแถวศรีนครินทร์เหมือนกัน โดยใช้รายได้อื่นๆ(บ้านเช่าธุรกิจในครอบครัว) แทน ที่ได้รายรับมากกว่าเงินเดือนประจำแต่ก็
"ไม่ผ่าน" เหมือนเดิม ก็ไม่ได้คิดอะไรปล่อยผ่านไป
***การยื่นเอกสารซ้ำ + แจ้งรายได้ไม่ตรงกัน จุดนี้น่าจะเป็นจุดที่แบงค์นี้ให้ผมติด "ฟอร์ด" ในระบบ***พอเข้าช่วงกลางปี 55 ได้ลองทำเรื่องกู้ซื้อคอนโดแถวอ่อนนุช คราวนี้ยื่น 3 แบงค์มี เหลือง ม่วง แดง สังเกตได้ว่าเรื่องจะผ่านทะลุไปจนถึงขั้นวงเงินที่ได้รับทุกแบงค์ พนักงานขายตามดีมาก แต่พอถึงขั้นจะต้องกดอนุมัติกลับ
"ไม่ผ่าน" + sms แจ้ง เหมือนพนักงานขายที่ดิวอยู่จะเริ่มรู้เป็นนัยๆ ล่วงหน้า ก็จะนิ่งหายไปเลย ผมก็ต้องตามต่อว่าเกิดจากสาเหตุอะไร กว่าจะได้คำตอบ ซึ่งพนักงานขายแบงค์สีม่วง กับแดงแจ้งเหมือนกันคือ
"แบงค์สีเหลืองติดฟอร์ดพี่ในระบบ" ส่วนแบงค์สีเหลืองแจ้งว่า
"ไม่ผ่านอย่างเดียว โดยไม่แจ้งเหตุผลใดๆ เลย"พอเข้าปี 56-60 ได้ลองสมัคร "บัตรเครดิต" กับทางนอนแบงค์
เจ้าแรก ดูปรากฎว่า
"ผ่าน" ครับ ใช้มาได้ไม่กี่ปีได้รับการปรับวงเงินขึ้นมามากกว่าบัตรเครดิตของแบงค์ที่ถืออยู่ทั้งหมด และผ่านไปได้ประมาณ 4 ปีได้ลองสมัครบัตรกดเงินสดกับทางนอนแบงค์เหมือนกันเป็น
เจ้าที่สอง ดูปรากฎว่า
"ผ่าน" เช่นกันครับ ใช้ไปได้ไม่กี่เดือนถูกปรับวงเงินขึ้นมามากกว่าบัตรกดเงินสดของแบงค์ที่ถืออยู่ทั้งหมดอีกเช่นกันครับ
***ทั้ง 2 บัตรยังคงใช้งานมาจนถึงปัจจุบันครับ และยังได้ลองสมัครสินเชื่อส่วนบุคคลโอนเข้าบัญชีกับนอนแบงค์ เจ้าแรก ดูปรากฎว่าก็ยัง "ผ่าน" อีกเหมือนเดิมครับ***เคสของผมสรุป คือ ข้อมูลที่เป็นเครดิตบูโรจะใช้ร่วมกันระหว่าง "แบงค์" กับ "นอนแบงค์" ซึ่งเคสผมเอง ไม่มีประวัติเสีย เลยทำให้เวลาขอสินเชื่อกับทาง "แบงค์" จะทะลุผ่านไปถึงขั้นวงเงินที่ได้รับ แต่จะไม่ผ่านในขั้นตอนกดอนุมัติ เนื่องจากไปติด โปรแกรมฟอร์ด กับทาง "แบงค์" ซะก่อน ส่วน "นอนแบงค์" สามารถทะลุผ่านถึงขั้นตอนกดอนุมัติได้เลย โดยที่ไม่มี หรือลิ้งค์ โปรแกรมฟอร์ด เข้ามาเกี่ยวข้องเลย ดังนั้นผมจะสามารถขอสินเชื่อทั้งหมดที่เป็น "นอนแบงค์" ได้เท่านั้นครับฟอร์ด(fraud) เกิดขึ้นได้อย่างไร : "ฟอร์ด" ก็คือ
"การปลอมแปลงเอกสาร" ไม่ตรงตามข้อมูลความเป็นจริง เพื่อต้องการให้สินเชื่อที่ยื่นกู้นั้นผ่าน ปัจจัยที่ทำให้เกิด
"ฟอร์ด" เกิดได้จาก ดังนี้
1.
"ตัวผู้ยื่นสินเชื่อเอง" ทั้งจาก
เจตนา อาจรู้เท่าไม่ถึงการณ์ตามคำแนะนำผิดๆ บอกต่อๆ กันมา เช่น แต่งบัญชี, หักประกันสังคมไม่ตรงกับรายได้จริง, ข้อมูลการเสียภาษีไม่ตรง ฯลฯ และ
ไม่เจตนา ทำโดยไม่รู้โดยสุจริต เช่น ยื่นสินเชื่อที่เดิมซ้ำติดกัน, มีรายได้หลายช่องทาง ยื่นไม่ตรงกัน ฯลฯ
***สินเชื่อบ้าน รถ ถือเป็นปัจจัยขั้นพื้นฐานในการดำรงชีพของมนุษย์เงินเดือนทุกคน คงไม่มีใครไม่อยากให้ไม่ผ่านหรอกครับ ขึ้นอยู่กับว่าจะมาลงที่ใครก็เท่านั้น ตามด้วยคำพูดดูแคลนต่างๆ นาๆ ไม่ว่าจะติดคุกทางการเงิน, เป็นโจร, ขี้โกง, เน่าเฟะ, ตายทั้งเป็น, ติดไปตลอดชีวิต, หมดอนาคต ล้วนแล้วแต่ปั่นทอนจิตใจทั้งสิ้น*** 2.
"บุคคลอื่น" เช่น บริษัทตัวแทนแบงค์ เจ้าหน้าที่แบงค์ พนักงานขาย คนใกล้ชิดทั้งที่รู้จัก และไม่รู้จัก แอบอ้างปลอมแปลงเอกสารเพื่อความรวดเร็ว ไม่เสียเวลา เพื่อให้ได้มาซึ่งเป้า ยอดขาย ค่าคอมฯ ตามที่ต้องการ โดยไม่คำนึงถึงผู้ยื่นสินเชื่อว่าจะได้รับความเสียหายมากน้อยแค่ไหน
3.
"เจ้าหน้าที่ส่งข้อมูลฟอร์ดของแบงค์" เกิดจากความผิดพลาดของเจ้าหน้าที่แบงค์ที่เกี่ยวข้องเองโดยตรง ขาดตรรกะใช้ดุลพินิจในการพิจารณา ไม่เช็ค ไม่มีระบบตรวจสอบข้อมูลเอกสารย้อนกลับที่เป็น
"มาตรฐานสากล" ทำลายอนาคตของผู้ขอสินเชื่อ ทั้งที่มีศักยภาพแต่ไม่มีโอกาสได้รับการแก้ตัว ทำให้แบงค์ได้รับความเสียหาย สูญเสียโอกาส และรายได้
***ผู้บริหารจะรู้ได้อย่างไร? ว่าเจ้าหน้าที่นำส่งข้อมูลว่าจะให้ใคร "ฟอร์ด" ไม่ "ฟอร์ด" นั้นมีวุฒิภาวะมากเพียงพอ เพราะเขาเหล่านั้นก็เป็นคนธรรมดาคนหนึ่ง ที่ต้องพิจารณาสินเชื่อเป็นประจำอาจจะกำลังเบื่อหน่าย เซ็ง เจอเคสแบบเดิมๆ ซ้ำๆ ทุกวัน หรืออาจะกำลังมีปัญหาส่วนตัว ทั้งเรื่องงาน ครอบครัว สุขภาพ และการเงินอยู่ก็เป็นได้ แล้วจะรู้ได้อย่างไร? ว่าจะไม่เอาอารมณ์ ความนึกคิดส่วนตัว(โดยใช้ id มากกว่า ego) มาพิจารณาเอกสารในมือไม่กี่แผ่น แล้วตัดสินให้คนนั้นคนนี้ "ฟอร์ด" อย่าลืมนะครับความผิดพลาดในส่วนนี้เกิดขึ้นสะสมมากขึ้นทุกวัน เพียงแค่รอวัน "ปะทุ" ขึ้นมาเท่านั้นเอง เพราะเขาเดือดร้อนกันจริงๆ บางเคสปล่อยหลุดผ่านไปมีให้เห็นกันก็เยอะแยะ ความผิดพลาดที่เกิดขึ้นตรงนี้ใครจะเป็นผู้รับผิดชอบ? และหน่วยงานที่ควบคุมกำกับดูแลจะมีบทลงโทษเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง และแบงค์อย่างไร?
อย่างเคสกรณีผม และเคสที่เจอปัญหาแบบเดียวกันกับผมมีอยู่จำนวนไม่น้อยที่ต้องมาติด "ฟอร์ด" จากความสะเพร่า เผอเรอของเจ้าหน้าที่ แล้วเครดิตบูโรจะมีไว้ทำไม? เครดิตที่ดีเวลาสร้างมันใช้เวลานานมากนะครับ กว่าจะครบ 5 ปี 10 ปี 13 ปีมาได้โดยไม่ผิดนัดชำระเลยสักครั้งเดียว ไม่ใช่เรื่องง่ายๆ นะครับ แต่เวลาตัดสินให้ "ฟอร์ด" ทำไมมันใช้เวลาสั้นจัง เหมือนไปตัดสินเขาแล้วว่าคนนี้เป็นคนผิด ทำไมไม่ย้อนกลับไปดูในเครดิตบูโรว่ามัน "ขัดแย้งกันไหม" แล้วมีระบบที่เป็น "มาตรฐานสากล" ในการเช็คเอกสารย้อนกลับว่าเป็นไปได้ไหมว่าคนคนนี้จะปลอมแปลงเอกสาร ทำไมไม่เรียกเจ้าของเอกสารมาสอบถามชี้แจง คำถามคือแล้วถ้าผม หรือคนอื่นๆ ที่เจอสถานการณ์แบบเดียวกันแล้วไม่ได้ทำจริงๆ ล่ะ? อนาคตที่ถูกทำลายไปจะเอาคืน และเยียวยายังไง?***วิธีแก้ปัญหา :- เบื้องต้นให้ลองติดต่อแบงค์ต้นเหตุ
ส่วนรับเรื่องร้องเรียน เพื่อสอบถามสาเหตุ ขอคำแนะนำปรึกษา(โดยปกติแบงค์จะไม่ให้ข้อมูลส่วนนี้มาเนื่องจากเป็นนโยบายแบงค์อาจมีความผิดได้ ต้องเป็นคนรู้จักภายใน หรือต่างแบงค์ถึงจะทราบ) หรือติดต่อ
สมาคมธนาคารไทย เพื่อหาแนวทางการแก้ไข
- จากนั้นทำหนังสือร้องเรียน(แนบรับรองสำเนาบัตรประชาชน) ไปยังแบงค์ที่เป็นต้นเหตุของเรื่อง + ส่ง ems ถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง หากพ้นเกิน 15 วันทำการนับจากวันเซ็นรับ แล้วยังไม่ติดต่อกลับมา นิ่ง หรือเพิกเฉย --->
ช่องทางรับเรื่องร้องเรียน- ให้กรอก "
แบบฟอร์มร้องเรียน" ถึงศูนย์คุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน(ศคง.) ธนาคารแห่งประเทศไทย โทร 1213
www.1213.or.th ใช้เวลาประมาณ 20 วันทำการ ทาง ศคง. จะส่งเรื่องไปให้ศาลแขวงเพื่อหาข้อสรุป และทางออกให้กับเราได้ครับ กรณีไม่ได้รับความเป็นธรรมถูกปลอมแปลงเอกสาร หรือเกิดจากความผิดพลาดจากการส่งข้อมูล
"ฟอร์ด" ของแบงค์ ทำให้ได้รับความเสียหายสามารถฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายได้ทั้งทางแพ่ง และอาญา
หมายเหตุ :- ในระบบส่วนกลางภายในระหว่างแบงค์ด้วยกันจะมีโปรแกรตัวหนึ่งที่แชร์รายงานสถานะ id ของผู้ขอสินเชื่อ เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกัน ทุกแบงค์จะสามารถเข้าถึงกันได้หมด ว่าไปติด
"ฟอร์ด" ที่แบงค์ไหน เมื่อไร สาเหตุอะไร เป็นเหตุให้แบงค์ปฏิเสธสินเชื่อ โดยไม่พิจารณาเอกสารประกอบใดๆ เลย ระบบดังกล่าวไม่มีกฎหมายรับรอง ใช้จัดทำขึ้นเพื่อเปิดเผยข้อมูลโดยพลการ ถือว่า
"ผิดกฎหมาย" เป็นการละเมิดสิทธิผู้อื่นโดยไม่ได้รับความยินยอม
"กฎหมายได้รับรองสถานะผ่านเครดิตบูโรที่เดียวเท่านั้น ที่ถูกต้องตามกฎหมาย และต้องได้รับความยินยอมด้วยถึงจะสามารถเข้าดูข้อมูลได้" ซึ่งหากผู้ที่ส่งข้อมูล
"ฟอร์ด" ไม่ได้อยู่บนพื้นฐานความเป็นจริง ขาดวุฒิภาวะ ปราศจากกการคัดกรองตรวจสอบอย่างเป็นระบบถูกต้องตามขั้นตอนแล้ว ส่งผลให้ผู้ขอสินเชื่อได้รับความเสียหายเป็นจำนวนมาก สร้างความเดือดร้อน ยากต่อการควบคุม และแก้ไขได้ อีกทั้งหากหน่วยงานที่ควบคุมกำกับดูแลโดยตรงได้รับทราบถึงปัญหาร้องเรียนดังกล่าวแล้วยังปล่อยปละละเลยเข้าข่ายมีความผิดตามกฎหมายด้วยเช่นกัน
- ฝากเรียนถึงหน่วยงานที่ควบคุมกำกับดูแล และผู้บริหารแบงค์รุ่นใหม่ที่ดีเป็น "น้ำดี" มีวิสัยทัศน์ เข้าใจ มองเห็นถึงความสำคัญของปัญหา รวมถึงผลกระทบกับแบงค์ ความเสียหายที่เกิดขึ้น และโอกาสที่สูญเสียไป เพื่อหาทางออกร่วมกันให้มี
"โอกาส" ได้กลับมาแก้ไขสิ่งที่ผิดพลาดไป เหมือนกับผู้ที่ติด
"แบล็คลิสในเครดิตบูโร" ให้สามารถยืนขึ้นมาได้ใหม่อีกครั้ง รวมถึงวางแนวทางป้องกันความผิดพลาดที่จะเกิดขึ้นอีกในอนาคต มีระบบถ่วงดุลน้ำหนักระหว่าง
"เอกสาร" กับ
"ประวัติย้อนหลังในเครดิตบูโร" และสามารถชี้แจงข้อสงสัยต่างๆ ได้ด้วยตนเอง
***ฝากอีกหนึ่งเรื่องสำคัญ! อยากให้หน่วยงานที่ควบคุมกำกับดูแลโดยตรง และผู้บริหารแบงค์ ลองสำรวจจำนวนผู้ที่ติด "ฟอร์ด" ทั้งหมดว่ามีจำนวนเท่าไร? แล้วเช็คกับ "ประวัติย้อนหลังในเครดิตบูโร" จนถึงปัจจุบัน แล้วดึงจำนวนผู้ติด "ฟอร์ด" ที่มี "ประวัติการชำระดี" ออกมาว่ามีจำนวนเท่าไร? แล้วให้รีเช็คเอกสารย้อนกลับไปเพื่อตรวจสอบอีกครั้ง ลองประเมินค่าความเสียหายที่เกิดขึ้นกับแบงค์ดูครับ ว่าการให้ "ฟอร์ด" มันขัดแย้งกับพฤติกรรมของผู้ขอสินเชื่อหรือไม่? เพื่อเก็บสถิติหาทิศทางว่าจะปรับหาทางแก้ไขอย่างไรต่อไป ไม่ใช่เป็นการให้แต่อำนาจหน้าที่อย่างเดียวโดยไม่คำนึงผลกระทบที่ตามมาในวงกว้าง แต่ต้องสามารถรีเช็คกลับมา "วัดคุณภาพของเจ้าหน้าที่" ได้ด้วย เพื่อถ่วงดุลอำนาจกัน และ "ระบบฟอร์ด" จะยังควรมีอยู่ต่อไปอีกหรือไม่ ให้ไว้เป็นข้อคิดครับ***ฟอร์ดเอกสาร, ฟอดเอกสาร, ติด f, ติดระบบฟรอด, fraud เอกสารแบงค์, ยื่นกู้ธนาคาร, กู้บ้าน, กู้คอนโด, กู้รถ, สมัครบัตรเครดิต, ขอสินเชื่อไฟแนนซ์, d25 fraud list, internal information, ประวัติไม่ดี, สถานะเฝ้าระวัง, watch list, ปลอมแปลงเอกสาร, เอกสารปลอม, ทุจริตเอกสาร, เอกสารไม่น่าเชื่อถือ, ขาดความน่าเชื่อถือของเอกสาร, หลอกลวง, เจตนาทุจริต, การฟอกเงิน, แบล็คลิส, black list, ตรวจสอบเครดิตบูโร, บริษัทข้อมูลเครดิตแห่งชาติ, credit bureau, ncb