อาการอื่นๆ :- สตาร์ทขณะเครื่องเย็นบางครั้งมีเสียงจุดระเบิดดังออกที่ท่อไอเสีย และได้กลิ่นน้ำมัน (อาจส่งผลให้แคตตาไลติคละลาย /O2 sensor เสียหาย รูปเครื่องยนต์จะโชว์ที่หน้าปัทม์)
- เดินเบาไม่เรียบ สั่น สะดุด เหมือนเดินไม่ครบสูบ ***สตาร์ทเครื่องทิ้งไว้เบาดับเองเป็น 2-4 รอบได้, บางจังหวะสตาร์ทง่าย บางทีก็สตาร์ทยาก ลากยาว***
- ให้สังเกตุฟังเสียงจังหวะเครื่องยนต์จะดัง แต๊กๆๆๆ (วาล์วเขก)
- รถไม่มีแรง เร่งไม่ขึ้น ออกตัวอืด ความเร็วปลายเริ่มหาย
สาเหตุ :- ส่วนใหญ่รถติดแก๊สจะเป็น จูนบาง เกิดความร้อนค่อนข้างสูงสะสม
- เกิดจากวาล์ว และบ่าวาล์วด้านไอเสียสึก/ไหม้จากการเผาไหม้ ทำให้ระยะเปิด-ปิดไม่สนิท หรือที่เราเรียกว่ากันว่า "วาล์วยัน ลูกเบี้ยววาล์วไปกดก้านวาล์วให้เปิด หน้า+บ่าวาล์วปิดไม่สนิท" ***หน้าวาล์วที่ดี ปิดสนิท ขอบจะวาว แต่ถ้าดำคือไหม้อาจใช้งานไม่ได้, ดูด อัด ระเบิด คาย จังหวะอัดกับระเบิดวาล์วฝั่งไอดีและไอเสียจะต้องปิดสนิท***
ลำดับวิธีแก้ไข :- วัดกำลังอัดกระบอกสูบขณะเครื่องเย็น ให้สังเกตุค่าที่ได้แต่ละสูบจะแตกต่างกันค่อนข้างมาก วิธีวัดเริ่มจากถอดหัวเทียนออกให้ทำทีละหัว ---> ใส่เกจวัดกำลังอัดลูกสูบลงไป (Compression Tester) ---> สตาร์ทเครื่อง(เครื่องติด) ---> เก็บค่าที่ได้ ทำอย่างนี้จนครบทุกหัว ค่าที่ได้ในแต่ละสูบจะต้องเท่ากัน หรือต่างกันได้ไม่เกิน 1 เช่น ค่ามาตรฐานอยู่ที่ 14 วัดได้ 13 ถือว่าปกติ แต่ถ้าสูบไหนวัดได้ 11 ถือว่าผิดปกติ ***ให้ดูค่าที่มากสุดเป็นหลัก, สูบไหนค่าต่ำวาล์วรั่ว/ยัน***
- เจียร์ถ้วย+ตั้งระยะวาล์วใหม่ ***ค่ามาตรฐานไอดี 0.15-0.25 มม. ส่วนไอเสีย 0.25-0.35 มม. ใช้กับเครื่อง JZ(ge/gte/vvti) และ UZ ได้ทั้งหมด***
- คว้าน-เสริม-สวมบ่าวาล์ว, เปลี่ยนถ้วย ซิม ยางตีนวาล์ว ก้านวาล์ว
- เปลี่ยนฝาสูบ
***สำหรับเคสนี้เริ่มจากถอดฝาครอบวาล์วออก ---> สอดฟิลเลอร์เกจวัดค่าฝั่งไอดี (ลูกเบี้ยววาล์วต้องชี้ขึ้นบน) ใช้ประแจหมุนแกนแคมชาร์ฟตามเข็มนาฬิกาเก็บค่าจนได้ครบทุกตัว ---> จากนั้นเก็บค่าทางฝั่งไอเสีย ---> เทียบค่ามาตรฐานพบว่าฝั่งไอดีปกติ ส่วนฝั่งไอเสียค่าแตกต่างกันหลายจุด ---> มาร์คจุดเฟือง+ไทมมิ่ง+แคม ก่อนคลายน็อตถอดแคมชาร์ฟออกมา ---> จะเห็นถ้วยวาล์ววางเรียงกัน+แผ่นซิม (แถวละ 12) ให้เขียนลำดับเลขบนถ้วยวาล์ว ---> นำถ้วยวาล์วออกมาวัดแกนด้วยเวอร์เนีย/ซีแคลมป์ เทียบค่าจากกำลังอัดกระบอกสูบมาก และน้อย ---> เจียร์ถ้วยด้านในให้ได้ระยะที่กำหนด+เช็คแผ่นซิม(ขั้นตอนนี้ควรใช้กล่องแยกแต่ละถ้วยอย่าให้ปนกัน) ก่อนประกอบกลับ(ทาน้ำมันทุกจุด+ขันสลับฟันปลา) เช็คด้วยฟิลเลอร์เกจอีกครั้งเป็นอันเสร็จขั้นตอน***
หมายเหตุ :- กำลังอัดกระบอกสูบ 1 bar = 100 kpa, psi ***psi : ปอนค์ต่อตารางนิ้ว, kg/cm2 : กิโลกรัมต่อตารางเซนติเมตร***
- อีก 1 วิธีสำหรับการวัดกำลังอัดกระบอกสูบ คือ ถอดหัวเทียนออกทุกสูบ ---> ใส่เกจวัดลงไปทีละสูบ ---> สตาร์ทรถลากยาว 1 ทีก่อนปล่อย(เครื่องจะไม่ติด) ---> เก็บค่าจนได้ครบทุกสูบ
- 2jz vvti กำลังอัดแต่กระบอกสูบเฉลี่ยอยู่ที่
14 bar หรือ kg/cm2 / 200 psi
- ระยะการตั้งวาล์วอยู่ที่ไม่เกิน 5 หมื่นโล
- กรณีแหวนหลวมให้สังเกตุก้านวัดน้ำมันเครื่องจะมีแรงดัน+ไอน้ำมันเครื่องระเหยออกมาด้วย
- ถ้าวาล์วไอดีรั่ว และมีเชื้อเพลิงอยู่ในท่อ ก็จะเกิดการระเบิดในท่อไอดี ที่เราเรียกกันว่า "back fire"
วาล์วยันเป็นอย่างไร, ควรตั้งวาล์วเมื่อไร, ระยะห่างลิ้นวาล์ว, ก้านวาล์ว, ปลอกวาล์ว, ปลอกขาวาล์ว, ตีปลอกอัดบ่าวาล์ว, เจียร์ถ้วยปรับวาล์ว, บ่าวาล์วสึก, บ่าทรุด, เปิดฝาสูบเสริมบ่าวาล์ว, วาล์วไอเสียยัน, ฟิลเลอร์เกจ, หน้าวาล์วไหม้, เพลาลูกเบี้ยว, โอเวอร์แล็ป (ไอดีเปิด ไอเสียปิด), ระยะห่างมาตรฐานวาล์วไอดี 0.25 มม., วาล์วไอเสีย 0.35 มม., วาล์วไฮดรอลิคตั้งวาล์วอัตโนมัติ, เปลี่ยนซิมวาล์วด้านเปิดหรือปิด, กระเดื่องเปิดวาล์ว ปิดวาล์ว, ซีลหมวกวาล์ว, ยางตีนวาล์ว, บดวาล์วด้วยน้ำมัน, สปริงวาล์ว, ตั้งองศาบ่าวาล์ว, หลบวาล์ว, เช็ควาล์วรั่วโดยใช้เบนซิน, ซีแคลมป์, C-Clamps, Feeler Gauge, Camshafts