ผู้เขียน หัวข้อ: วิธีเลือกซื้อ “เครื่องฟอกอากาศ” เลือกแบบไหนให้เหมาะกับบ้านเรา  (อ่าน 2603 ครั้ง)

DavisJoe

  • Newbie
  • *
  • Thank You
  • -Given: 0
  • -Receive: 0
  • กระทู้: 2
    • ดูรายละเอียด
สำหรับประชาชนส่วนใหญ่ก็ยังไม่จริงจังกับการป้องกันฝุ่นละอองขนาดเล็กที่กำลังมีค่าเกินมาตรฐานอยู่ในบางพื้นที่ขณะนี้ ก่อนหน้านี้ Sanook! Home เคยนำเสนอวิธีการดูแลตัวเองเมื่ออยู่บ้านท่ามกลางสภาพฝุ่นละอองลอยไปทั่ว ว่าอยู่อย่างไรถึงจะปลอดภัย ซึ่งหนึ่งในคำแนะนำเมื่อต้องอยู่บ้านคือการเปิดเครื่องฟอกอากาศ ซึ่งหลายบ้านอาจยังไม่มี หรือกำลังตัดสินใจซื้อ เราจึงมีคำแนะนำเรื่องการเลือกซื้อเครื่องฟอกอากาศให้เหมาะกับบ้านและอากาศที่แย่ลงทุกๆ วัน
รู้จัก “เครื่องฟอกอากาศ”
เครื่องฟอกอากาศ  Air Purifier หรือ Air Cleaner เป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ช่วยกำจัดฝุ่น หรือสิ่งแปลกปลอมในอากาศ ไม่ว่าจะเป็นแบคทีเรีย เชื้อไวรัส กลิ่นไม่พึงประสงค์ต่างๆ เครื่องฟอกอากาศจึงเหมาะสำหรับคนที่เป็นภูมิแพ้ สำหรับการทำงานของเครื่องฟอกอากาศคือการดูดอากาศเข้าตัวเครื่องและผ่านตัวกรองให้ดักจับสิ่งแปลกปลอมในอากาศ อากาศที่ออกมาจึงบริสุทธิ์และสะอาด
วิธีเลือกซื้อเครื่องฟอกอากาศ
เมื่อตัดสินใจจะเลือกซื้อเครื่องฟอกอากาศ นี่คือปัจจัยที่ใช้พิจารณาประกอบการเลือกซื้อ
-   ขนาดของห้อง ใช้หลักการเดียวกันกับการเลือกซื้อเครื่องปรับอากาศเลยก็ว่าได้ ยิ่งห้องมีขนาดใหญ่เท่าไร ก็ต้องเลือกซื้อเครื่องฟอกอากาศให้มีขนาดใหญ่มากขึ้น เพื่อจะได้ทำงานอย่างเต็มประสิทธิภาพ ดังนั้นวิธีการคือวัดขนาดกว้าง ยาวของห้อง แล้วดูค่าเปลี่ยนถ่ายอากาศทุกชั่วโมงของเครื่องฟอกอากาศว่าค่าคือเท่าไร
-   ค่า CADR อีกหนึ่งปัจจัยสำคัญของการพิจารณาซื้อเครื่องฟอกอากาศคือการดูจากอัตราเปลี่ยนถ่ายอากาศต่อชั่วโมง หรือค่า CADR (Clean Air Delivery Rate) ซึ่งตัวเลขนี้จะได้จากการวัดปริมาณอากาศทั้งหมดที่ระบบฟอกอากาศสามารถทำความสะอาดได้ภายใน 1 นาที ซึ่งปกติจะแสดงผลเป็นตัวเลข 3 ตัวเลขคืออัตราทำความสะอาดอากาศที่มีฝุ่นละออง อากาศที่มีเกสรดอกไม้ และอากาศที่มีควันบุหรี่ ยิ่งตัวเลขสูง ย่อมแสดงว่าเครื่องฟอกอากาศนั้นสามารถทำงานได้ดี
-   Air Volume หรือ Air Flow นี่เป็นอีกสิ่งที่ควรพิจารณาประกอบการเลือกซื้อเครื่องฟอกอากาศ เพราะเมื่อมีสิ่งสกปรกเข้าไปอัดแน่นอยู่เป็นจำนวนมาก มันจะเป็นเครื่องกรองที่ช่วยทำความสะอาดเครื่องฟอกอากาศด้วยตัวเอง
-   ระบบการใช้งานต่างๆ เรื่องระบบการใช้งานต่างๆ นั้นขึ้นอยู่กับตัวบุคคลว่าต้องการตอบสนองความสะดวกสบายของตนเองมากน้อยแค่ไหน แต่ระบบที่ขาดไม่ได้คือระบบออโต้โมดซึ่งเป็นระบบที่สามารถปรับระดับความเบา ความแรงของเครื่องฟอกอากาศได้เองโดยอัตโนมัติ รวมทั้งควรมีฟังก์ชั่นการตั้งเวลาเปิด-ปิดเพื่อให้เครื่องสามารถหยุดการทำงานในขณะที่เราหลับหรือไม่อยู่บ้าน
-   ระดับเสียง เครื่องฟอกอากาศที่ดีควรมีระดับเสียงต่ำขณะทำงาน เพราะผู้เป็นภูมิแพ้บางคนอาจต้องเปิดเครื่องฟอกอากาศขณะนอนหลับ ดังนั้นจึงควรเลือกระดับเสียงในการทำงานที่มีค่าประมาณ 30-31 เดซิเบล ส่วนใครที่ไม่คิดว่าจำเป็นต้องใช้งานตอนกลางคืน อาจข้ามเรื่องเสียงไป
-   อะไหล่เครื่องฟอกอากาศ เมื่อต้องตัดสินใจซื้อเครื่องฟอกอากาศ นอกจากเรื่องของระบบการทำงาน ดีไซน์ต่างๆ แล้ว อีกสิ่งหนึ่งที่ควรคิดและพิจารณาไว้ล่วงหน้าเลยก็คืออะไหล่ของเครื่องฟอกอากาศที่อาจต้องพิจารณาว่าถ้าเกิดเครื่องฟอกอากาศมีปัญหาขึ้นมาในภายหลัง เราจะสามารถหาซื้ออะไหล่เหล่านั้นได้สะดวกหรือไม่ โดยเฉพาะพวกแผ่นกรองและไส้กรองต่างๆ
-   ประหยัดค่าไฟ ส่วนหนึ่งที่ทำให้มีผลต่อค่าไฟคือแผ่นกรอง ถ้าแผ่นกรองหนาแน่นมากอากาศผ่านได้น้อย จะยิ่งทำให้เครื่องฟอกอากาศทำงานหนัก และกินไฟ ดังนั้นควรเลือกเครื่องฟอกอากาศที่มีแผ่นกรองแบบที่อากาศไหลผ่านได้ดี รวมทั้งให้พิจารณาฉลากประหยัดไฟเบอร์ 5 ร่วมด้วย

DavisJoe

  • Newbie
  • *
  • Thank You
  • -Given: 0
  • -Receive: 0
  • กระทู้: 2
    • ดูรายละเอียด
  วิธีพิจารณาและเลือกซื้อตู้เย็นอย่างชาญฉลาด เพื่อให้ได้คุณสมบัติตาม ขนาด ราคา รูปแบบ และการประหยัดไฟ ที่ทำให้คุณใช้งานได้อย่างคุ้มค่าและบอกลาการค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นไปซะ
วิธีการเลือกซื้อตู้เย็น
          เมื่อคิดจะซื้อตู้เย็นสักเครื่อง คำถามแรกของใครหลายคนก็คงจะไม่พ้นคำถามที่ว่า “ยี่ห้อไหนดี” ใช่ไหมล่ะคะ แต่ถ้าจะให้ดีจริง ๆ ควรพิจารณากันที่หลักการทำงาน ขนาด ราคา รูปแบบ 1 ประตู 2 ประตู หรืออื่น ๆ และการกินไฟมากกว่า เพราะข้อจำกัดเหล่านี้คือ วิธีการที่จะช่วยให้คุณตัดสินใจเลือกตู้เย็นที่ตอบโจทย์ตู้เย็นกับความต้องการ และความเหมาะสมในการใช้งานของคุณได้มากที่สุด วันนี้กระปุกดอทคอมเลยนำวิธีเลือกตู้เย็นมาฝากกันค่ะ เพื่อให้คนที่กำลังจะซื้อตู้เย็นได้นำไปพิจารณาเลือกเครื่องที่เหมาะสมที่สุด
 วิธีการเลือกซื้อตู้เย็น
1. เลือกที่มีฉลากประหยัดไฟเบอร์ 5
          เหนือสิ่งอื่นใดในการเลือกเครื่องใช้ไฟฟ้า จะต้องคำนึงถึงการประหยัดไฟเป็นลำดับแรก ดังนั้นเราควรเลือกซื้อตู้เย็นที่มีสติ๊กเกอร์ฉลากประหยัดไฟเบอร์ 5 กำกับ เพราะจะช่วยให้ประหยัดไฟได้มากกว่า แต่ถ้าเป็นตู้เย็นที่มีตัวเลขต่ำกว่า 5 ลงไปก็จะยิ่งกินไฟเยอะและมีคุณภาพที่ด้อยลงไป เช่น เบอร์ 1 คือระดับต่ำสุด เบอร์ 2 คือระดับพอใช้ เบอร์ 3 คือระดับปานกลาง เบอร์ 4 คือระดับดี และเบอร์ 5 คือระดับดีมาก  ถ้าเปรียบเทียบเบอร์ฉลากกับค่าไฟที่ต้องเสียรายปีได้ ดังนี้
          - ตู้เย็นฉลากเบอร์ 3 : กินไฟ 332 หน่วย/ปี ต้องเสียค่าไฟประมาณ 840 บาท/ปี
          - ตู้เย็นฉลากเบอร์ 4 : กินไฟ 262 หน่วย/ปี ต้องเสียค่าไฟประมาณ 644 บาท/ปี
          - ตู้เย็นฉลากเบอร์ 5 : กินไฟ 220 หน่วย/ปี ต้องเสียค่าไฟประมาณ 573 บาท/ปี
2. สังเกตจากรายละเอียดข้อมูล
          ถึงแม้ข้อสังเกตนี้จะเป็นมาตรฐานทั่ว ๆ ไปที่ใช้ในการพิจารณากัน แต่ก็พลาดไม่ได้เลยนะคะ นั่นก็คือ ตู้เย็นจะต้องมีตราชื่อผู้ผลิตและเครื่องหมายการค้าที่ชัดเจน มีฉลากระบุรายละเอียดของประเภท รหัสรุ่น ปริมาตรภายใน และวงจรไฟฟ้าที่ครบถ้วน รวมไปถึงคู่มือแนะนำตู้เย็น อย่างเช่น รายละเอียดของตู้เย็น วิธีการใช้ วิธีการติดตั้ง อุปกรณ์ควบคุม การทำความสะอาด และการบำรุงรักษาไว้ด้วย
3. ขนาดความจุที่เหมาะสมกับการใช้งาน
          ขนาดความจุของตู้เย็นคือ จุดหลักที่ต้องคำนึงก่อนเลือกซื้อ หน่วยวัดขนาดของตู้เย็นเรียกว่า “ลูกบากศ์ฟุต” หรือ “คิว” ถ้าจะเปรียบเทียบให้เห็นภาพ 1 คิวก็จะมีขนาดความจุเท่ากับถุงช้อปปิ้งตามซูเปอร์มาร์เก็ตทั่วไป ดังนั้นหากจะวัดคร่าว ๆ จากปริมาณของที่ซื้อเข้าตู้เย็นกับขนาดคิวตู้เย็นที่ต้องการก็ได้ จะวัดจากพฤติกรรมที่ชอบซื้อของแช่แข็งมากกว่าของสดทั่วไป ก็ควรเลือกตู้เย็นที่มีช่องแช่แข็งกว้างเป็นพิเศษ หรือจะคิดค่าเฉลี่ยของจำนวนสมาชิกในบ้านกับขนาดคิวตู้เย็น อย่างเช่น
          - สมาชิกมี 2 คน : ปริมาณคิวที่เหมาะสมอย่างต่ำสุดคือ 2.5 คิวขึ้นไป
          - ครอบครัวขนาดกลางสมาชิก 3-4 คน : ปริมาณคิวที่เหมาะสมคือ 12-18 คิว
          - ครอบครัวขนาดใหญ่สมาชิก 5 คนขึ้นไป : ปริมาณคิวที่เหมาะสมคือ 15 คิวขึ้นไป
4. พิจารณาจากคุณสมบัติพื้นฐาน
          คุณสมบัติพื้นฐานที่ว่านี้คือ ดีไซน์ภายในตู้เย็นที่ต้องเลือกให้เหมาะสม ดูทันสมัย และจัดวางสิ่งของง่าย พิจารณาได้จากส่วนประกอบหลัก ๆ ดังนี้
          - ชั้นวาง : จะต้องถอด-เข้าออกได้ เพื่อให้ง่ายต่อการปรับขนาดช่องแช่และทำความสะอาด
          - ลิ้นชักช่องแช่ : จะต้องมีช่องแยกภายใน เพื่อปรับอุณหภูมิให้เหมาะสมกับอาหารที่แช่
          - ช่องผักและผลไม้ : จะต้องควบคุมความเย็นและชื้นอย่างเหมาะสม ให้ผักและผลไม้สดได้นาน
          - ชั้นวางข้างประตู : จะต้องมีขนาดกว้างพอสมควร สามารถแช่ขวดนมและขวดน้ำต่าง ๆ ได้ดี

 

29 มี.ค. 2024
18:55
Today : 69464
Total : 41415603
หลังจากลงทะเบียนเรียบร้อยแล้ว สมาชิกจะสามารถโพส หรือตั้งกระทู้ได้ตามปกติ ทุกหมวดหมู่ครับ
roomautoparts@hotmail.com | me
2014 Room Autoparts All Rights Reserved